วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เมื่อสุนัขท้องเสีย


ทำไมสุนัขจึงถ่ายเหลวบางตัวถ่ายไม่หยุดนอนหมดแรงและมักเกิดร่วมกับอาการอาเจียน โดยเฉพาะในลูกสุนัขที่มักมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ความตาย ในเวลาอันรวดเร็วเป็นชั่วโมง หรือ 1-2 วันแตกต่างจากในสุนัขโตอายุมากกว่า 1 ปี ที่มักพบอาการถ่ายเหลวจนเรื้อรัง คือมีอาการถ่ายเหลวนานเกิน 7 วัน ทั้งๆ ที่สามารถกินอาหารได้ปกติ บางตัวกินอาหารเก่งกินน้ำเก่ง แต่ร่างกายกลับดูผอมลง และมีน้ำหนักตัวลดลง อาการที่กล่าวมาข้างต้นในสุนัขโตมันอันตราย แต่มักไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สุนัขจะมีอาการถ่ายเหลวไม่หยุด บางตัวมีเลือดปนในช่วงนั้นจะเริ่มมีอันตรายมากขึ้น อาการท้องเสียที่พบในสุนัขโตมักพบเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้ โดยเฉพาะส่วนของลำไส้เล็กเราเรียกกลุ่มอาการนี้ เป็นภาษาอังกฤษว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เกิดการอักเสบหนาตัวขึ้นของลำไส้ เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte , Plasma cell , Eosinophil มาสะสมเป็นจำนวนมากที่ลำไส้ก่อนให้การรักษาสัตวแพทย์จะต้องมีการตรวจเลือด โดยเฉพาะการตรวจหาค่าโปรตีนในเลือด (Albumin , Globulin) ค่าซีรั่มในเลือด และการตรวจ Biopsy ของลำไส้เพื่อใช้เป็นข้อสรุปว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มอาการนี้ก่อนให้ยา


สาเหตุของการท้องเสียที่พบโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจาก 2 แห่งคือ
1. จากทางเดินอาหารโดยตรง คือกระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
2. จากระบบอื่นในร่างกายที่ไม่ใช่ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคตับโรคตับอ่อนอักเสบ โรค Hyperthyroidพบบ่อยในแมว,โรคhypoadenocorticsm


การแบ่งประเภทการเกิดท้องเสียตามอาการที่เกิดแบ่งได้ 2 แบบคือ
1. แบบเฉียบพลัน มีสาเหตุดังนี้
a. จากอาหารที่ให้กินมากเกินไป การเปลี่ยนอาหารทันทีหรืออาหารให้กินไม่สะอาด บูดเน่า
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ ได้แก่พยาธิ์ใส้เดือนพยาธิ์ปากขอ
c. จากโปรโตซัว ได้แก่เชื้อ Gliardia Coccidia
d. จากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
e. จากการได้รับสารพิษต่างๆ เช่นสารพิษตะกั่ว
2. แบบเรื้อรัง
a. จากอาหาร ได้แก่ การแพ้อาหารที่กิน การขาดแลคโตส
b. จากพยาธิ์ในลำไส้ และโปรโตซัว
c. การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะการเกิด Bacteria overgrowthในสฃลำไส้เล็ก (SIBO)
d. จากการสะสมของเซลเม็ดเลือดขาวชนิดEosinophil Plasma Cell Lymphocyteโดยเฉพาะที่ลไส้ใหญ่ส่วนโคลอนพบบ่อย
ในสุนัขพันธุ์บอกเซอร์ อัลเซเชียน เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็น IBD
e. การเกิดเนื้องอกที่ทางเดินอาหาร เช่น Diffuse Lymphosarcoma , Adenocarcinoma

กลุ่มอาการ IBD ดังกล่าวจะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีน ในทางเดินอาหารในปัจจุบันการรักษาแผนใหม่ ที่จะควบคุมอาการดังกล่าวนอกจากใช้ยาลดการัอักสเบจำพวกเสตียร์รอยด์ที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้นไม่สามารถจะให้เป็นเวลานานๆ เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยาจึงมีการพิจารณาในเรื่องของอาหาร ที่ให้สัตว์กินในระยะยาวร่วมด้วย

อาหารที่จะต้องใช้ ควรให้อาหารที่มีการควบคุมชนิดของโปรตีน ที่ย่อยง่ายและมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นอยู่ในอาหารด้วย ลดปริมาณไขมันในอาหารท้องเสียเพราะการที่ไขมันสูงทำให้การดูดซึมอาหารที่กินเข้าไปน้อยลงโดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาของตับอ่อนอักเสบหรือการขาดเอ็นไซม์ของตับอ่อน ไม่ควรให้กินอาหารที่มีไขมันเนื่องจากร่างกายขาดเอ็นไซม์ที่จะย่อยไขมัน โดยทั่วไปจะเลือกเป็นอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้น้อยที่สุดพบว่า Eukanuba Low-Residue เป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษา

นอกจากนี้อาจเกิดมาจากการอักเสบของถุงน้ำดีในร่างกายทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังก่อนการพิจารณาเลือกชนิดของอาหารที่จะให้แก่สัตว์ที่มีอาการทอ้งเสียควรจะทราบก่อนว่าการท้องเสียนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรและโดยทั่วไปอาหารที่เหมาะสมควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นอาหารที่ย่อยง่าย
2. มาจากแหล่งอาหารโปรรตีนอย่างเดียวและมีคุณค่าทางโปรตีนแต่ไม่สูงเกินไป เช่น โปรตีนจากเนื้อแกะ กระต่าย ไก่ ปลา กวาง
3. มาจากแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตแหล่งเดียวปราศจาก Gluten ควรใช้แหล่งจากข้าว มันฝรั่ง มันสัมปะหลัง ข้าวโพด (บางตัวอาจแพ้ข้าโพด)
4. ปรับปริมาณของกรดไขมันในอาหาร (Omega3-Omega6 ratio 5:1-10:1)
5. มีปริมาณสายใยอาหารที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป (3-7 เปอร์เซนต์ของอาหารสายใยทั้งหมด)
6. มี fermentable fiber ที่พอดี
7. ลดปริมาณไขมัน

สุนัขย่อยอาหารอย่างไร


เราควรเรียนรู้การย่อยและดูดซึมอาหารของสุนัข เพราะเราจะได้รู้ว่าควรดูแลน้องหมาของเราอย่างไร เลือกอาหารให้ทานอย่างไร หากเขาเป็นลำไส้อักเสบ

ร่างกาย
สุนัขจำเป็นต้องกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างปกติ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาหารจะให้พลังงาน และวัตถุดิบต่าง ๆ เรียกว่าสารอาหาร หลังจากสุนัขกินเข้าไปแล้วสารอาหารต่าง ๆ ในอาหารจะถูกย่อย ดูดซึม และผ่านขบวนการที่เรียกว่าเมตาโบลิซึมภายในร่างกาย บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจขบวนการย่อยอาหารของสุนัข และทำไมสุนัขต้องการกินอาหารที่ “ย่อยได้” เพื่อให้เขาได้สารอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีพ การย่อยอาหารเริ่มต้นที่ปาก ผ่านไปยังกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และสิ้นสุดที่ลำไส้ใหญ่

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นที่บริเวณทางเดินอาหาร ซึ่งหมายถึง ช่องทางที่อาหารผ่าน และโดยผนังของทางเดินอาหารจะปล่อยสารคัดหลั่งจากอวัยวะต่าง ๆ ออกมายังทางเดินอาหาร สารคัดหลั่งเหล่านี้จะมีเอ็นไซม์ย่อยอาหารซึ่งจะช่วยเร่งขบวนการการแตกตัวของอาหาร สารอาหารอยู่ 3 ชนิดที่จำเป็นต้องผ่านขบวนการย่อยก่อนใช้งานได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนสารอาหารอื่น ๆอีก 3ชนิด (แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ) สามารถดูดซึมได้ในระดับใกล้เคียงกับที่พบในอาหารโดยไม่ต้องผ่านการย่อย

แต่สารอาหารเหล่านี้อาจต้องแตกตัวในระดับใกล้เคียงกับที่พบในอาหารโดยไม่ต้องผ่านการย่อยได้ การย่อยเริ่มต้นที่ปากโดยย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กลง และคลุกเคล้ากับน้ำลายก่อนถูกกลืนผ่านหลอดอาหาร แม้ว่าสุนัขจะไม่ใช่สัตว์ที่กินเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ฟันของพวกเขาจะเหมาะสมกับการกินเนื้อ และสามารถตัด เคี้ยว และบดอาหาร สุนัขส่วนใหญ่มักจะกลืนอาหารทันทีโดยจะเคี้ยวเฉพาะอาหารที่กลืนยากเท่านั้น ลักษณะอาหาร และกลิ่นจะกระตุ้นให้น้ำลายไหล ซึ่งมักจะเห็นได้เวลาอาหาร เมื่ออาหารถูกกินมาอยู่ที่ปาก รสชาดของอาหาร และลักษณะทางกายภาพจะยิ่งจะกระตุ้นน้ำลายให้ไหล น้ำลายประกอบด้วยสารคัดหลั่ง และช่วยหล่อลื่นอาหารให้กลืนได้สะดวก หลังจากนั้นอาหารจะผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหารโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

กระเพาะอาหารทำหน้าที่หลายอย่าง กระเพาะทำหน้าที่ในการพักอาหารเป็นจุดควบคุมการไหลของอาหารผ่านเข้าสู่ลำใส้เล็ก โปรตีนจะเริ่มถูกย่อยตั้งแต่บริเวณกระเพาะอาหาร สารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารจะมีเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน กรดเกลือ และเมือกเอ็นไซม์สำคัญ คือเป็บซิน จะถูกหลั่งออกมาในลักษณะยังไม่สมบูรณ์ เป็บซิโนเจนจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเมื่อมีกรดเกลือซึ่งช่วยรักษาสภาพความเป็นกรดในกระเพาะ และทำให้เอ็นไซม์ทำงานได้เหมาะสม เมือกคัดหลั่งจะช่วยหล่อลื่นอาหาร และป้องกันพื้นผนังของกระเพาะอาหาร (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน) ไม่ให้ถูกทำลายโดยเอ็นไซม์ในกระเพาะเอง กรดสารคัดหลั่งเมือก และเอ็นไซม์จะขึ้นกับส่วนประกอบของอาหาร และปริมาณที่กินเข้าไป ซึ่งมักจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน และระบบประสาท ผนังของกระเพาะเป็นกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ บริเวณส่วนท้ายของกระเพาะอาหาร (Pyloric region) อาหารในกระเพาะอาหารจะถูกคลุกเคล้า และผ่านเข้าสู่ลำไส้ทางกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter) ที่คอยควบคุมอยู่ เมื่อผ่านเข้าสู่ลำไส้จะมีอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนคล้ายนมเรียกว่า Chyme เข้ามาผสม และมีปัจจัยหลายชนิดมาควบคุม การผ่านเข้าสู่ลำใส้เล็ก การบีบตัวเป็นคลื่นของกระเพาะอาหารทำให้หูรูดคลายตัว และอาหารผ่านเข้าสู่ลำใส้เล็กส่วนต้น (duodenum) Chyme จะผ่านง่ายกว่ามากเพราะมีลักษณะเป็นกึ่งของเหลว อีกประการหนึ่งอาหารจะเคลื่อนออกไปช้าลง เมื่อมีลักษณะเป็น Chyme กรด ไขมัน และการระคายเคืองของลำใส้ส่วนต้น ซึ่งจะสั่งให้กระเพาะอาหารหยุดเคลื่อนไหว ขบวนการทำงานเช่นนี้ทำให้อาหารถูกคลุกเคล้าอย่างดีในกระเพาะ และช่วยให้ Chyme ไม่ผ่านเข้าสู่ลำไส้มากเกินไปซึ่งทำให้ลำไส้สามารถย่อยอาหารได้ดี การทำงานของลำใส้เล็กจะเริ่มต้นที่ส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการย่อย ดังนั้นเอ็นไซม์หลายชนิดจะถูกผสมใน chyme อาจมาจากผนังของลำใส้เล็กหรือตับอ่อน ตับอ่อนถือว่าเป็นต่อมที่สำคัญของร่างกาย โดยมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ สร้างเอ็นไซม์สำหรับการย่อย และปล่อยไปในทางเดินอาหาร และสร้างฮอร์โมนในกระแสเลือด น้ำย่อยจากตับอ่อนจะมีส่วนประกอบของโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งจะช่วยปรับสภาพลดความเป็นกรดของ chyme เมื่ออาหารมาถึงลำใส้ส่วนต้น และสร้างสภาวะความเป็นด่างซึ่งเหมาะสมกับการทำงานของเอ็นไซม์จากตับอ่อนและลำใส้เล็ก เอ็นไซม์เหล่านี้จะมีชื่อว่าโปรเตียส (proteases) เพื่อการทำการย่อยโปรตีนต่อไป เอ็นไซม์อไมเลส เพื่อย่อยคาร์โบไฮเดรต และเอ็นไซม์ไลเปสเพื่อการย่อยไขมัน ระบบการควบคุมการหลั่งเอ็นไซม์จากตับอ่อน ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน 2 ชนิดคือ ซีครีติน และแพนคลีโอไซมิน (secretin and pancreozymin) ฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ถูกหลั่งจากเซลที่ผนังของลำใส้เล็ก

หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของตับอ่อนคือการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ตับเป็นอวัยวะสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับระบบการย่อยที่ลำใส้เล็ก น้ำดีจากตับถูกผลิตอย่างต่อเนื่องไปเก็บที่ถุงน้ำดี และน้ำดีจะถูกปล่อยเข้าไปช่วยย่อยผ่านทางท่อน้ำดีเมื่อจำเป็น น้ำดีมีเกลือเป็นส่วนประกอบโดยทำหน้าที่คล้ายผงซักฟอกที่กระจายไขมันออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ทำให้เอ็นไซม์ไลเปสสามารถย่อยไขมันโมเลกุลเล็ก ๆ เหล่านี้ต่อไปได้ สีของน้ำดีนี้จะเป็นสีของอุจจารระนั่นเอง การย่อยอาหารจะสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ลำใส้เล็ก และอาหารที่ถูกย่อยให้ได้โมเลกุลเล็ก ๆ ที่จะสามารถดูดซึมได้ผ่านจากผนังลำใส้สู่กระแสเลือด ส่วนที่เหลือจากการย่อย จะผ่านเข้าสู่ตับซึ่งจะถูกตับกำจัดออกไป ไขมันจะถูกดูดซึมผ่านทางหลอดน้ำเหลืองและถูกส่งไปยังกระแสเลือด ลำใส้เล็กจะยาวมาก และการดูดซึมตลอดช่วงความยาวของมัน รอยพับของลำใส้ และผนังที่ยื่นออกมาคล้ายนิ้วมือ และวิลไล (villi) ที่ผนังของลำใส้จะยิ่งช่วยให้ผนังลำใส้มีพื้นที่สัมผัสในการดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น สุนัขบางพันธุ์พื้นที่สัมผัสอาจกว้างเท่าพื้นที่ห้องเล็ก ๆ ห้องหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนหน้าที่ของลำใส้ใหญ่เมื่อกากอาหารผ่านไปถึงลำใส้ใหญ่ สารอาหารส่วนใหญ่จะถูกย่อยเกือบหมดแล้ว แต่จะมีการหมักอาหารไฟเบอร์ โดยแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซ อุจจาระจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60-70% ส่วนอื่น ๆ จะเป็นอาหารที่ไม่ได้ย่อยแบคทีเรียที่ตายแล้ว และอาหารอนินทรีย์อื่น ๆ อุจจาระจะถูกเก็บที่บริเวณลำไส้ตรงส่วนท้าย (rectum) และถูกขับออกผ่านหูรูดของทวารหนัก (anal sphincter) แม้ว่าการถ่ายอุจจาระจะสามารถบังคับได้ แต่อาจเกิดปัญหาในสุนัขอายุมาก สุนัขที่ท้องเสีย หรือมีอาการป่วยที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ การวัดอัตราการย่อยได้ของอาหารที่ให้กับสุนัขจะทำได้โดยการวิเคราะห์ทางเคมี แต่อย่างไรก็ตามจะไม่สามารถได้ค่าโภชนะที่ใช้ได้จริง เพราะโภชนะที่ดูดซึมได้ที่ทางเดินอาหารเท่านั้นที่สุนัขจุนำไปใช้ได้ อัตราการย่อยได้เป็นวิธีการที่ดีกว่าเพราะสามารถบอกปริมาณของสารอาหารต่าง ๆ ในอาหารได้โดยการคำนวณความแตกต่างของสารอาหารที่ให้เข้าไปกับสารอาหารที่เหลือในอุจจาระ

เนื่องจากปริมาณสารอาหารที่เหลือในอุจจาระคืออหารที่ย่อยไม่ได้ สารอื่น ๆ ที่ไม่สามารถดูดซึมแต่รวมเศษเซล และสารอื่นที่ถูกขับออกจากทางเดินอาหาร การวัดวิธีนี้จึงเรียกว่า อัตราการย่อยที่วัดได้(apparent digestability) แต่การวัดอัตราการย่อยที่แท้จริงโดยต้องมีการควบคุมสารที่ไม่ใช่อาหารให้มีการทดลองเพื่อให้ได้การวัดที่ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว จะใช้การวัดอัตราการย่อยที่วัดได้ การวัดในสัตว์ชนิดเดียวกันมักจะวัดการย่อยในแต่ละชนิดอาหารมากกว่าการวัดในสัตว์แต่ละตัว แต่อัตราการย่อยได้ในอาหารชนิดเดียวกันจะแตกต่างกันถ้าให้ในสัตว์ต่างชนิดกันอย่างแมวกับสุนัข เนื่องจากความแตกต่างของระบบการย่อยอาหาร โดยความแตกต่างนี้อาจเกิดจากความแตกต่างของอัตราส่วนของความยาวของทางเดินอาหาร ต่อความยาวของร่างกาย สัตว์กินพืชเช่นม้า อัตราส่วนของลำไส้ต่อร่างกายจะสูงมาก เพราะอาหารจำพวกพืชจะใช้เวลาในการย่อยนานกว่าอาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์ ในสัตว์ที่กินทั้งพืช และสัตว์อย่างสุนัข และคน ลำไส้จะสั้นกว่า ในสัตว์กินเนื้อ เช่นแมวมีอัตราส่วนระหว่างลำไส้ต่อร่างกายน้อยที่สุด

ดังนั้นอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นพืช จะมีอัตราการย่อยได้ที่ต่ำกว่าในสุนัข เนื่องจากส่วนประกอบที่เป็นไฟเบอร์ในขณะที่อาหารจำพวกเนื้อจะมีอัตราการย่อยได้สูงกว่า ถ้าการย่อยได้จะเป็นการบ่งชี้เพื่อใช้ในการประมาณอาหารที่จะต้องการสำหรับสัตว์ที่สุขภาพปกติ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน และพลังงานที่เพียงพอ ถ้าอาหารที่อัตราการย่อยได้ต่ำ สัตว์ก็ต้องกินอาหารนั้นมากขึ้นเพื่อให้ได้โภชนะตามความต้องการของร่างกาย และแน่นอนถ้ากินอาหารประเภทนี้สัตว์ก็จะถ่ายอุจจาระมากกว่าปกติ{:m021:}